วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิทย์สนุกๆ
วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญา
การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา และกระตุ้นความอยากรู้อยาก
เห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการ
จำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทาง
วิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของ
ธรรมชาติและจักรวาลเราเข้าใจถึงวัยเด็กที่ต้องการการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกที่เต็มไปด้วย
รอยยิ้มและเสียงหัวเราะวันนี้เราได้สรรหากิจกรรมวิทยาศาสตร์อนุบาลและเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถ
ทำได้ง่ายและปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

1. การทดลองวิทยาศาสตร์อนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี – สีสายรุ้งประกาย 7 สี

สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียม
1. สีน้ำที่เป็นแม่สี
2. จานรองสี
3. พู่กัน
4. แก้วใส่น้ำสำหรับทำความสะอาดพู่กัน

ผสมสีสายรุ้งให้มันส์กันไปเลย!

  1.  หารูปภาพของสายรุ้งมาให้ลูกดูสีเป็นตัวอย่าง
  1. ให้ลูกน้อยนำสีเหลืองไปผสมกับสีน้ำเงิน คนให้เข้ากัน
  1. จากนั้นจะได้เป็นสีเขียว เหมือนสีของสายรุ้งหนึ่งสี
  1. ให้ลูกลองผสมแม่สีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้สีสายรุ้ง 7 สี
ลูกน้อยสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสีของสายรุ้งและช่วยให้พวกเขาเข้าใจต้นกำเนิดของสีสันต่างๆ 
กิจกรรมวิทยาศาสตร์อนุบาลที่เต็มไปด้วยสีสันสดใสนี้ยังสามารถดึงดูดความสนใจ และความ
ตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย

กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย – อ่านจดหมายลับจากกระดาษเปล่า!

สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียม
1. ปากกาหมึกซึม
2. น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาว
3. กระดาษ
4. ไดร์เป่าผม

วิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น!

1. จุ่มปากกาลงในน้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียน แล้วเขียนตัวอักษรลงไปใน
กระดาษ
2. ผึ่งกระดาษไว้ให้แห้ง
3. ใช้ไดร์เป่าผมเป่ากระดาษไปเรื่อยๆ แล้วตัวอักษรจะค่อยๆ ปรากฏขึ้น

ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ได้นะ?

คุณแม่สามารถอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจในแง่วิทยาศาสตร์ว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อน้ำมะนาว
หรือน้ำสมสายชูถูกความร้อนแล้วจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อออกซิเจนในอากาศ 
ทำให้ออกซิไดซ์ในน้ำมะนาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

การทดลองวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการในการสังเกตของลูกน้อย

การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับการสังเกต 
และการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล
ทักษะการสังเกตเป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  1. ทักษะการมอง โดยการสังเกตขนาด สี รูปร่าง และองค์ประกอบ
  1. ทักษะการฟังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแยกระดับเสียงที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการดมเพื่อให้สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการลิ้มรสช่วยในการรับรู้รสชาติที่แตกต่างของอาหาร
  1. ทักษะการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสามารถในการสัมผัสกับสภาพอากาศและพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ

ทัวร์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

    การพาลูกไปยังสถานที่ที่สามารถช่วยในการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถเปิดโลกทัศน์
ให้กับลูกได้เช่นกัน และยังสามารถทำกิจกรรมทดลองต่างๆที่ไม่สามารถทำได้ที่บ้านการพาลูก
ไปเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกสถานที่ยังช่วยให้เด็กมีความสนใจและตื่นเต้นกับประสบการณ์ของสิ่ง
ที่เหนือธรรมชาติซึ่งสามารถมีคำอธิบายให้พวกเขาได้เข้าใจถึงเหตุและผลได้กิจกรรมทดลองทาง
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปผลงานวิจัย

ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Experimental Results of the Learning Experience Management Focusing on Science 
Process Skills of Kindergarten Children 2
ศรีนวล ศรีอ่่า
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับ การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาล วัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน เครื่องมือที ่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ 3)แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.839วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
บทน่า
การจัดประสบการณ์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีนั้นควร
ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงมากที่สุด สอดคล้องกับแนวคิดของจอห์น ดิวอี้(John Dewey) ที่ว่าเด็กเรียนรู้จากการกระท า (Learning by doing) ซึ่งตรงกับเพียเจท์(Piaget) และบรูเนอร์(Bruner) ที่กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาการทางสติปัญญานั้นเกิดจากการเรียนรู้โดยการกระท าและการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยเป็นการตอบสนองและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้โลกธรรมชาติรอบตัวและพัฒนาทักษะทางสติปัญญาต่าง ๆ เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยมีธรรมชาติของการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์อยู่ในตนเอง การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมโดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด ให้ได้ทั้งกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจะช่วยส่งเสริมศักยภาพของเด็กในการพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานส าหรับการศึกษาในอนาคต(ชัยวัฒน์สุทธิรัตน์, 2552, หน้า 27)
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมมี
ประสบการณ์ตรงได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของนักเรียนและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่จะรักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย แต่จากการวิจัยยังพบว่าครูผู้สอนระดับปฐมวัยจ านวนมากจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่น าเสนอสาระ ความรู้กระบวนการด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนท าให้ผู้เรียนได้รับความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการประเมินที่ได้จากการศึกษาวิจัยร่วมกับนานาชาติที่ระบุให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์รวมทั้งผลการเรียนรู้ด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ าเมื่อเทียบเคียงกับนานาชาติ(สถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2550, 1) และจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เมื่อพิจารณาคุณภาพของนักเรียนที่ต้องปรับปรุงพบว่า วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีค่าร้อยละของนักเรียนที่ต้องปรับปรุงมากที่สุดคือร้อยละ17.42 (รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน O-NET, 2555, หน้า 101) ซึ่งความเป็นจริงแล้วการศึกษาปฐมวัยเน้นกระบวนการที่เด็กได้รับจากประสบการณ์ตรงจากประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยผ่านการเล่น และบูรณาการอยู่
ในทุกสาระ สาเหตุหนึ่งอาจสืบเนื่องมาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ระบุรายละเอียดในส่วนของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ครูได้เห็นอย่างชัดเจนจากสิ่งที่คาดหวังจะให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุดให้ได้ทั้งกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ตั้งแต่ปฐมวัยโดยมีเป้าหมายในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือเด็กปฐมวัยรู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ๆ ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย แสดงความเข้าใจ รู้จักดูแลรักษาธรรมชาติมีจิตวิทยาศาสตร์มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์แต่สภาพที่เป็นจริงแล้วการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลาย หรือบูรณาการอยู่ในทุกสาระ อาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551, หน้า 1)
การจัดประสบการณ์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ การจัดประสบการณ์ส าหรับเด็กปฐมวัย พบว่า การจัด
ประสบการณ์ส าหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ส าหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครบทุกด้านไม่ได้มุ่งให้อ่านเขียนแต่จะเป็นการปูพื้นให้โดยค านึงถึงวัยความสามารถของเด็กและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป (ศศิมา พรหมรักษ์, 2546, หน้า19) ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการหามิติสัมพันธ์ทักษะการค านวณ ทักษะการพยากรณ์ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลซึ่งถือว่าเป็นทักษะขั้นพื้นฐาน ส่วนทักษะการทดลอง ทักษะการตีความหมายข้อมูลทักษะการตั้งสมมุติฐานทักษะการก าหนดตัวแปรและทักษะการก าหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จัดเป็นทักษะขั้นบูรณาการ
ซึ่งทักษะดังกล่าวมีความส าคัญในการแสวงหาความรู้และเกิดข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์สามารถน าไปเป็นกระบวนการพัฒนาความคิดและสติปัญญาของเด็กได้ (ศศิธร รณะบุตร, 2551, หน้า 29) การจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ซึ่ง วิมลศรี สุวรรณรัตน์, และมาฆะ ทิพย์คีรี (2544, หน้า 10) อธิบายว่า การจัด
ประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เด็กท ากิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความรู้ ความช านาญ มีความมั่นใจในการน าเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือค้นคว้าความรู้ต่างๆด้วยตนเองแล้วยังช่วยให้เกิดประโยชน์ คือ เด็กได้รู้จักแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นคนไร้เหตุผลได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการสอนของครู ส่งผลให้เด็กได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเองและท าให้เด็กสนใจเรียนในรายวิชานั้นๆ มากยิ่งขึ้น ท าให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2547, หน้า 172) ได้อธิบายว่า ความส าคัญของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ มีความส าคัญในด้านการฝึกท ากิจกรรมให้มีความรู้ความช านาญ และมีความมั่นใจในการน าเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เพื่อต่อเติมประสบการณ์ของ ช่วงชีวิตในวัยถัดไป และเป็นรากฐานแห่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้นการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็น การฝึกฝนกระบวนการทาง
ความคิดและความสามารถในการปฏิบัติการค้นคว้าหาความรู้และแก้ไขปัญหาเพื่อไปสู่การเรียนรู้ จะเห็นได้ว่าแม้แต่เด็กปฐมวัยก็ยังได้รับประสบการณ์ในชีวิตประจ าวันที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ประกอบกับเด็กปฐมวัย มีความอยากรู้อยากเห็นและมักจะตั้งค าถามกับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา เด็กปฐมวัยจึงควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จ าเป็นในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อที่จะได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และจะได้มีโอกาสพัฒนาประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต การส่งเสริมให้เด็กได้รับรู้สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ต่างๆ เป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เด็กเผชิญปัญหาด้วยความเข้าใจ และมองเห็นปัญหาว่าแก้ไขได้โดยวิธีใด เด็กได้ฝึกคิดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งท าให้เด็กสามารถที่จะปรับตัวเข้า
กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงนี้ จะเป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่ส าคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็น
การจัดการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้(สมจิต สวธนไพบูลย์, 2547, หน้า 27)ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้น าการจัดกิจกรรมการเรียนมีลักษณะเป็นกิจกรรมประเภทฝึกปฏิบัติเพื่อให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติด้วยตนเองประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เป็นของจริง รูปภาพต่างๆ ที่น่าสนใจและมีค าถามที่น าไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต การจ าแนกประเภท การวัด การลงความเห็น และการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ ดังที่ พัชรีผลโยธิน (2542, หน้า 24-31) ได้สรุปไว้ว่า เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการส ารวจสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเช่น การชิมรสการรู้สึกการผลักการดึงการหมุน การผสมการเปรียบเทียบและอื่น ๆ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเรียนรู้ข้อมูลเนื้อหา และท่องจ ากฎหรือสูตรต่าง ๆ วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการสังเกต การคิดและสะท้อนความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น สนใจโลกที่ล้อมรอบตัว เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กคิดและแก้ปัญหา และนอกจากนี้ผู้วิจัยใช้หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามที่ ประสาท เนืองเฉลิม (2546, หน้า 26 -27) เสนอแนะว่าจะสร้างการเรียนรู้ในตนให้กับเด็ก ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนปฏิบัติการเรียนการสอนคือ 1) ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการลงมือกระท าจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 2) จัดกิจกรรมตามสภาพจริง สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ 3) จัดประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งใหม่ที่มีฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก 4) สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กครูต้องเป็นผู้ให้ค าแนะน า ก าลังใจ เอื้ออ านวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและ 5) สะท้อนความคิดระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระท าที่ปฏิบัติลงไปจากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ และทักษะการลงความเห็น
วิธีการด่าเนินการวิจัย
การวิจัยนี้ ใช้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) สังกัดส านักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple
random sampling) โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน โดยศึกษาผลจากการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะมิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล โดยใช้เวลาศึกษา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมระยะเวลา 35 ครั้ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน (one – group pretest –posttest design)ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากการทดสอบค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย 
1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ภาพรวมอยู่ในระดับดี (
X= 2.51, S.D. = 0.49) 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
อภิปรายผล
การวิจัย เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 2ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี (
X= 2.51, S.D. = 0.49) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้กระบวนการจัดประสบการณ์โดยเน้นเด็กเป็นส าคัญ โดยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาที่สอน เหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความต้องของเด็ก ประกอบกับกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การฟัง การสาธิต การทดลองลงมือกระท าด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้เสนอแนะวิธีการค้นหาค าตอบ โดยใช้วิธีการต่างๆ พยายามชี้แนะแนวทางค้นค าตอบ เน้นกระบวนการที่เด็กเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ท าให้การเรียนรู้เกิดขึ้น
ระหว่างที่เด็กมีส่วนร่วมโดยตรงในการท ากิจกรรม ท าให้มีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับหลักการของ วราภรณ์ รักวิจัย (2542, หน้า 159) ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมที่จะท าให้เด็กเกิดการเรียนรู้สูงสุดนั้น จะต้องเป็นกิจกรรมที่เด็กสนใจลงมือค้นคว้ากระท าด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและสนับสนุนคอยช่อยเหลือ เด็กท ากิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย สอดคล้องกับพัฒนาการ ด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นประสบการณ์ตรงจากการได้เล่นลงมือปฏิบัติจริงและมีการกระท าร่วมกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ลานดี้, และกลาสสัน (Landry, & Glasson, 2008, p.
443) ที่ศึกษาหลักสูตรการจัดกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย โดยท าการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กและบทบาทของครูในการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พบว่าครูเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในการช่วยส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย และการให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้แบบร่วมมือกันท าให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งท าให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับดี
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจเป็นเพราะการจัดประสบการณ์ที่มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก และเน้นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ รู้จักคิด และรู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง โดยครูใช้ค าถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้จักคิดและแก้ปัญหา เป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการจัดกิจกรรมจะเชื ่อมโยงพื้นฐานจากความรู้เดิม และใช้เทคนิคการจัดประสบการณ์โดยการสาธิต การทดลอง การศึกษานอกห้องเรียน เพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ประสาท เนืองเฉลิม(2546,
หน้า26 -27) ที่ระบุไว้ว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการลงมือกระท าจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 จัดกิจกรรมตามสภาพจริงสอดคล้องกับสภาพ แวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้สิ่งใหม่นั้นมีฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็กมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กซึ่งครูต้องเป็นผู้ให้ค าแนะน าก าลังใจเอื้ออ านวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสะท้อนความคิดระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระท าที ่ปฏิบัติลงไป และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ศิริทัย ธโนปจัย (2549, หน้า 78-79) ซึ่งได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของธนวรรณ มณี (2550, หน้า 92) ซึ่งได้ท าการวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการน่าผลการวิจัยไปใช้
1.1 ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรเลือกใช้กิจกรรมที ่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่คุ้นเคย และสามารถน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ เพื่อให้เด็กจดจ าไปปฏิบัติและเกิดทักษะขึ้นได้
1.2 ควรมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัยอย่าง
ต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจ าวัน โดยเน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดความคล่องแคล่วช านาญและเกิดเป็นทักษะต่อไป
1.3 ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรเลือกใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่คุ้นเคย และสามารถน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ เพื่อให้เด็กจดจ าไปปฏิบัติและเกิดทักษะขึ้นได้
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ศึกษาการผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเด็กระดับปฐมวัย
ในห้องเรียนอื่นๆ ในโรงเรียน
2.2 เปรียบเทียบผลการการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็ก
ปฐมวัย โดยใช้ทักษะ 7 ทักษะของเด็กปฐมวัย
2.3 ควรมีการศึกษา เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการ
ประกอบอาหารเป็นกลุ่ม ศิลปะสร้างสรรค์ หรือ โครงงาน

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • อาจารย์ทบทวนสิ่งทั้งหมดที่เรียนมา และทบทวนวิธีการสอน ขั้นตอนวิทยาศาสตร์ และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม พร้อมทั้งสอบถามงานที่ยังค้างอยู่
การนำไปใช้
  •     คุณธรรม จริยธรรม และวิธีการสอนแบบปฐมวัย
ประเมิน
ผู้เรียน
        ได้รับความรู้ เข้าใจ ในบทเรียนที่ทบทวน
ผู้สอน 
        แต่งกายเรียบร้อย และให้ความรู้ดี ชัดเจน

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • เพื่อนๆทำการสอน
วันจันทร์ หน่วย ผลไม้
  • สอนเรื่องประเภทของผลไม้ ซึ่งผลไม้เราต้องใช้เกณฑ์เดียว คือ ผลไม้เดี่ยว และไม่ใช่ผลไม้เดี่ยวซึ่งเรียกว่า ผลไม้กลุ่ม
  • เริ่มการสอนดังนี้  1. ครูให้เด็กๆอ่านคำคล้องจองผลไม้ และเมื่ออ่านจบก็ถามเด็กๆว่า ในคำคล้องจอง มีผลไม้อะไรบ้าง  2. เมื่อเด็กๆตอบผลไม้จากคำคล้องจอง ครูก็สอบถามว่า มีผลไม้อะไรอีกบ้าง  3. ครูยกตะกร้าที่ครูเตรียมมา แล้วถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าในตะกร้านี้มีอะไร 4. เมื่อเด็กๆตอบครูก็หยิบออกทีละชิ้น 5. หยิบหมดให้นับจำนวน  6. เมื่อนับจำนวนใส่เลขกำกับ 7.และบอกความรู้เรื่องผลไม้ ผลเดี่ยวกับผลกลุ่ม  8. เปรียบเทียบกลุ่มใดมากกว่า
วันอังคาร วันพุธ หลักการเช่นเดียวกัน
วันพฤหัสบดี  ทำคุกกิ้ง ในหน่วยปลา : ข้อเสนอแนะอาจารย์คือ ควรทำเป็นฐานให้เด็กนั่งทำเป็นฐานในแต่ละขั้นตอน และ วนกัน

ภาพประกอบกิจกรรม

หน่วยไข่




หน่วยปลา


หน่วยดอกไม้

หน่วยยานพาหนะ



การนำไปใช้ 
  •      เพื่อการสอนเด็กในหน่วยต่างๆที่เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์
ประเมิน
ผู้เรียน 
       ทำการสอนในวันพุธ ได้รับความรู้ ในเรื่องของหลักในการสอน
ผู้สอน 
       ให้คำแนะนำที่ดี ในการสอน


วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 
วันอังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • นำวีดิโอของเล่นวิทยาศาสตร์ฉบับแก้ไขมาเปิด เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นนั่งตามกลุ่มที่ทำหน่วย เพื่อที่จะสอบถามว่า แต่ละหน่วยทำอะไรกันบ้าง แยกเป็นวัน จันทร์-ศุกร์
วันจันทร์ ⇒ ประเภทของต้นไม้
วันอังคาร⇒ ลักษณะของต้นไม้
วันพุธ ⇒ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
วันพฤหัสบดี ⇒ ประโยชน์ของต้นไม้
วันศุกร์ ⇒ ข้อควรระวังสำหรับต้นไม้

ฉันทำวันศุกร์ เกี่ยวกับข้อควรระวังของต้นไม้
➤ขั้นนำ เล่านิทาน เรื่อง จ่อยผจญภัย
➤ขั้นสอน ในนิทานที่เด็กๆฟัง มีอะไรบ้างที่เราควรจะระวังจากต้นไม้
จากนั้นทำกิจกรรมจับคู่ภาพ ระหว่างภาพของเหตุ-ผล ที่ทำให้เกิดอันตรายจากต้นไม้
➤ขั้นสรุป สรุปข้อควรระวังจากต้นไม้


  • อาจารย์ผู้สอนแจกแผนการจัดประสบการณ์ให้ไปเขียนสิ่งที่ตนจะสอนแล้วนำมาเสนอในห้องเรียนอาทิตย์ถัดไป
การนำไปใช้
    นำข้อเสนอแนะของผู้สอนไปปรับกับการเขียนแผนของเรา

ประเมิน
ผู้เรียน
       ตั้งใจฟังคำแนะนำที่ตนจะต้องนำเสนอ
ผู้สอน 
       ให้คำแนะนำที่ดี แต่ยังไม่ทั่วถึงของทุกวันที่สอน

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • นำเสนอคลิปของเล่น เพื่อที่จะดูว่าต้องมีการปรับแก้อะไรไหม และให้ข้อเสนอแนะ
1.กลุ่มรถพลังงานลม
2.กลุ่มหลอดมหัศจรรย์
3.กลุ่มคานดีีจากไม้ไอติม
4.ขวดน้ำนักขนของ
  • เข้ากลุ่มของตนเองตามหน่วย และให้เขียนมายแมพว่าหน่วยของเราบูรณาการกับวิชาการใดบ้าง


วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • ผู้สอนให้ออกไปนำเสนอแผงผังความคิดในหน่วยต่างๆที่ได้รับการแก้ไขแล้ว
กลุ่ม "ต้นไม้" (ดิฉัน) แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อดังนี้
  1. ประเภทของต้นไม้ ⇛ เกณฑ์ที่ใช้แบ่ง คือ ราก แบ่งได้ 2 ประเภท➔ ไม้ยืนต้น และไม้ล้มลุก ซึ่งไม้ยืนต้นเป็นรากแก้ว ไม้ล้มลุกเป็นรากฝอย แต่เราต้องใช้กับเด็กแค่ 1 เกณฑ์ คือ รากแก้วและไม่ใช่รากแก้ว
  2. ลักษณะของต้นไม้ ⇛ สี ➙เขียว น้ำตาล  /  ขนาด➙ เล็ก กลาง ใหญ่ / กลิ่น ➙ เหม็นเขียว ฉุน /  รส ➙ ฝาด / ส่วนประกอบ ➙ ลำต้น ราก ใบ ผล 
  3. ปัจจัยการดูแลรักษา ⇛ 1.การขยายพันธ์ ⇨ การตัด ตอนกิ่ง ปักชำ เพาะเมล็ด เป็นต้น  2. ปัจจัยการเจริญเติบโต ⇨ น้ำ อากาศ แสงแดด
  4. ประโยชน์ของต้นไม้ ⇛1. ต่อตนเอง ⇨ ให้ร่มเงา พักพิง 2. เชิงพานิชย์ ⇨ คนขายต้นไม้ พนักงานส่งต้นไม้ เป้นต้น
  5. ข้อควรระวัง ⇛ เช่น อย่าอยู่ใต้ตนไม้ตอนฝนตก ห้ามปีนป่าย อาจจะตกลงมา ต้นไม้โค่นล้ม อาจเกิดน้ำท่วม เป็นต้น.
  • หน่วย "ต้นไม้"  ของกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1
➤สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ➙ เด็กสามารถบอกชื่อได้ บอกหน้าที่ได้ การดูแลรักษา ข้อควรระวัง สังเกตการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของต้นไม้
สำรวจสิ่งที่เกิดขี้น
แสดงออกเพื่อการสื่อสาร คือ การทำสื่อ
➤สำรวจและอภิปราย ➙ สังเกตและเปรียบเทียบ  เรียงลำดับการเจริญเติบโต  นำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นฟัง
➤เทียบลักษณะ ➙ ต้องมีเกณฑ์  เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง  บันทึกจากการเรียนสำรวจ เรียนรู้ สังเกต

สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
➤ สำรวจสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาต้นไม้ อากาศจำเป็นสำหรับต้นไม้



ภาพกิจกรรม





การนำไปใช้
  • นำไปใช้แก่การสอนให้เด็กๆ ตามที่กรอบมาตรฐานได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการสอน
ประเมิน
ผู้เรียน 
       ตั้งใจเรียน ช่วยเพื่อนๆทำงาน
ผู้สอน
       สอนเข้าใจ และอธิบายได้ตรงกับเนื้อหาของการเรียน

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2559 (เวลา :08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • นำเสนอของเล่น เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอของเล่นซึ่งให้นำเสนอถึงขั้นตอน วิธีการทำ และวิธีการเล่น
ของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
  1. ของเล่นเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นของเด็ก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
  2. ของเล่นเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้เด้กเรียนรู้ทักษะต่างๆในชีวิต
  3. ของเล่นที่เหมาะสมจะส่งเสริมความสามารถและทักษะทางการเคลื่อนไหวที่ดี
-กลุ่มของดิฉันเสนอ กล้องส่องสะท้อนภาพ มีสมาชิกดังนี้

     
  1. นางสาวสุธาสิณี  อายุมั่น
  2. นางสาวสราพร   สงวนประชา
  3. นางสาวทาริกา   เสมวงค์

  • จากนั้น ผู้สอนให้แบ่งกลุ่ม 5 คน และแจกกระดาษบรูฟให้เขียน นำเสนอหน่วยการเรียนรู้กลุ่มละ 1 หน่วย โดยต้องคำนึงถึง สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็ก  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
สาระที่เด็กควรเรียนรู้
  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลปละสถานที่รอบตัวเด็ก
  3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
  4. สิ่งรอบๆตัวเด็ก
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
  • เพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดหน่วยที่จะสอนเด็กๆ ผู้สอนกำหนด 5 หัวข้อ ดังนี้
             ➤ชนิด/ประเภท
             ➤ลักษณะ
             ➤ปัจจัย/การดูแลรักษา
             ➤ประโยชน์
             ➤ข้อควรระวัง
  • เลือกทำหน่วย "ต้นไม้" ก็ช่วยกันร่างสิ่งที่จะสอนตามที่หัวข้อกำหนดไว้ และออกไปนำเสนอต่อผู้สอนหน้าชั้นเรียน เพื่อปรับและแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เพิ่มเติม
  • เมื่อนำเสนออาจารย์ก็ให้คำแนะนำ และวิธีการสอน รวมถึงกลุ่มเพื่อนๆด้วย 
เนื้อหาที่สอนในกลุ่ม
  1. ประเภท แยกตามราก แบบที่เป็นรากแก้ว และไม่ใช่รากแก้ว ซึ่งเป็นรากฝอย แบ่งออกเป็นไม้ยืนต้น(รากแก้ว) และไม้ล้มลุก(รากฝอย)
  2. ลักษณะ สี กลิ่น ขนาด รส ส่วนประกอบ
  3. ปัจจัยในการดำรงชีวิต แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ การขยายพันธ์ กับปัจจัยในการเจริญเติบโต
  4. ประโยชน์ของต้นไม้ แบ่งออกเป็น 2แบบ คือทางพานิชย์ และ ต่อตนเอง
  5. ข้อควรระวังของต้นไม้
การนำไปใช้
  • นำข้อเสนอแนะมาปรับกับการสอนของเราในหน่วยนั้นๆ ซึ่งการสอนแต่ละหน่วยไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต
ประเมิน
ผู้เรียน
     ช่วยเพื่อนๆในการคิดหน่วย และเนื้อหาในหน่วย
ผู้สอน
     ให้คำแนะนำที่ดี เกี่ยวกับหัวข้อแต่ละหัวข้อที่ต้องสอน เพราะเราจำเป็นจะต้องรู้และนำไปใช้จริงแก่เด็ก
                  

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2559 (เวลา : 08.30-12.30น.)

เนื้อหาการเรียน

  • ผู้เรียนได้รับกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนขั้นตอนของเล่นของแต่ละคน ซึ่งดิฉันทำของเล่นวิทยาศาสตร์ เรื่อง ถ่วงสมดุล

ของเล่นถ่วงสมดุล
ขั้นตอนที่ 1 วาดรูปคน ชูแขนขึ้น เท่ากันทั้งสองแขน บนกระดาษลัง
ขั้นตอนที่ 2 ตัดรูปคนที่วาดไว้ และนำเหรียญไปติดที่ปลายแขนของหุ่นข้างละ 1 เหรียญ
ขั้นตอนที่ 3 นำไม้ไอติมที่แบ่งครึ่งแล้ว ตัดหัวข้างหนึ่งให้แหลมและนำมาติดที่ หัวของหุ่น
ขั้นตอนที่ 4 วางหุ่นส่วนแหลมของหัวไว้ที่ปลายนิ้ว จะเห็นได้ว่า มันจะถ่วงกันพอดี

  • จากนั้นผู้สอนให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน และเลือกของเล่นมา 1 อย่างจากสมาชิกของกลุ่ม และมอบหมายงานดังนี้
  1. เขียนขั้นตอนและวิธีการทำวีดิโอ
  2. ถ่ายวีดิโออุปกรณ์และวิธีการทำของเล่น
  3. นำวีดิโอลงยูทูป และนำเสนอต่อผู้สอน
  4. นำวีดิโอทดลองสอน
ขั้นตรวจสอบ
ผู้สอนเป็นผู้ตรวจสอบขั้นตอนการสอน โดนเขียนและนำเสนอหน้าชั้นเรียน กลุ่มเราเลือกของเล่น  
"รถพลังงานลม" ขั้นสอนมีดังนี้
  1. อุปกรณ์ที่วางอยู่ เด็กๆสังเกตอุปกรณ์
  2. อุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นเด็กๆรู้จักอุปกรณ์ใดบ้าง หากเด็กรู้จักทั้งหมดก็ไม่ต้องแนะนำ หากรู้จักไม่หมด ก็แนะนำอุปกรณ์ที่เหลือ
  3. อุปกรณ์เหล่านี้ใช้ทำอะไรได้บ้าง
  4. ตั้งปัญหา เช่น รถจะเคลื่อนที่ได้อย่างไรโดยไม่ใช้มือในการเคลื่อนที่
  5. เมื่อเด็กตอบ และเข้ากับเรื่องที่เราต้องการนำเสนอ เราก็ใช้เทคโนโลยี โดยค้นหาวิธีการจากยูทูป 
  6. ทบทวนอุปกรณ์ที่ใช้อีกครั้งจากการดูคลิป 
  7. สาธิตการทำ
  8. ให้เด็กๆมาหยิบอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้ หรือหากเป็นกลุ่ม ครูให้ตัวแทนกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์ของแต่ละกลุ่ม
  9. เด็กๆลงมือทำ
  10. เก็บอุปกรณ์
  11. ตั้งสมมุติฐาน เด็กๆคิดว่ามันจะเคลื่นที่ได้อย่างไร
  12. ทดสอบสมมุติฐานการลองเล่นของเด็ก และอาจจะเปิดขั้นตอนการเล่นในยูทูปให้ดู
  13. แข่งขันโดยการตั้งเกณฑ์ของผู้ชนะ หรือผ่าน
  14. สุปกิจกรรม ทบทวนวิธีการอีกครั้ง
การนำไปใช้
         นำไปจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กๆในการประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ขั้นตอน การสาธิต การลงมือทำ และขั้นสรุป 

ประเมิน
ผู้เรียน
      ได้รับการเรียนอย่างดี เป็นผู้ออกไปนำเสนอขั้นตอนการสอน รถพลังงานลม ได้รับการแก้ไขและข้อเสนอแนะที่ดีจากผู้สอน
ผู้สอน 
       ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อการสอนของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2559 (เวลา : 08.30-12.30น.)

เนื้อหาการเรียนรู้

  • วันนี้อาจารย์ผู้สอนมอบหมายให้พี่ปี 5 เป็นผู้มาสอนแทน โดยเนื้อหาคือ การทำ Cooking มีดังนี้
"ขนมปังทอดไส้กล้วย"
อุปกรณ์
  1. กระทะ
  2. ตะหลิว
  3. มีด
  4. เขียง
  5. จานกระดาษ
  6. ขวดน้ำ
ส่วนผสม
  1. ขนมปัง 1 แผ่น
  2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  3. กล้วยหอม 4 ชิ้น
  4. น้ำตาลทรย 4 ช้อนชา
  5. นมข้นหวาน 1 ช้อนชา
  6. น้ำมัน 2 ถ้วย
ขั้นตอนการทำ
  1. นำขนมปังตัดขอบและรีดให้เป็นแผ่นบาง ด้วยขวดน้ำ
  2. นำกล้วยหอมมาตัดบาง 4 ชิ้น
  3. กล้วยหอมมาวางที่ขนมปัง และประกบขนมปัง กดให้แน่นติดกัน
  4. นำขนมปังไส้กล้วยไปชุบไข่และทอดในน้ำมันร้อนๆ
  5. เมื่อสีขนมปังเหลืองนวลให้ตัดขึ้นและจัดใส่จาน รับประทาน
  • พี่สาธิตวิธีการทำ "ขนมปังทอดไส้กล้วย"
  • จากนั้นลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ภาพกิจกรรม












การนำไปใช้
  1. ขั้นตอน วิธีการ สอนเด็กเกี่ยวกับการทำอาหาร
  2. ข้อควรระวังในการสอนเด็กๆทำอาหารภายในห้องเรียน
ประเมิน
ผู้เรียน 
     ได้รับความรู้ร้อยละ 90 อาจจะมีการสับสนในขั้นตอนการทำบ้าง เพราะการอธิบายไม่ชัดเจน
ผู้สอน (ปี5)
      มีการสับสนในขั้นตอนที่ตนเตรียมมาบ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ดี จึงทำให้กิจกรรมดำเนินได้ดี การพูดสุภาพเรียบร้อย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนทำอาหารเด็กๆด้วย

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30น.)

เนื้อหาการเรียน

⤠สอบกลางภาค⤟

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)


***ขาดเรียน อ้างอิงเนื้อหาจากนางสาวสราพร สงวนประชา
 http://warapornam.blogspot.com/2016_09_01_archive.html
ความรู้ที่ได้รับ

1.ทบทวนเรื่องอากาศและกรอบมาตรฐาน+ของเล่น
2.การไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
3.ระดับของน้ำ
4.ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้
-ทดลองการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้
-การเปลี่ยนแปลงของดอกไม้เกิดจากการที่น้ำซึมเข้าไปในเนื้อกระดาษทำให้กระดาษค่อยๆบานออก


1.ทบทวนเรื่องอากาศและกรอบมาตรฐาน+ของเล่น


ทบทวนการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้สอนในหน่วยต่างๆได้อย่างเหมาะสม


กิจกรรมวาดรูปภาพสามมิติ


2.การไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเป็นหลักการในการนำมาทำน้ำพุ
      การไหลของลำน้ำ หรือ ธารน้ำไหล ได้แก่ การไหลแบบเป็นชั้น (Laminar Flows) เป็นลักษณะการไหลที่เรียบ มีความเร็วในการไหลต่ำ ลักษณะการไหล ชั้นบนสุดของผิวน้ำเคลื่อนที่เหลื่อมไปข้างหน้า เหนือชั้นที่ถัดลงไป มักพบลักษณะของการไหลเช่นนี้ในบริเวณน้ำที่มีระดับความลึกมาก การไหลดังกล่าวมีการพัดพาตะกอนไปได้น้อยมาก เช่น การไหลของน้ำใต้ผิวดิน การไหลแบบปั่นป่วน (Turbulent Flows) เป็นลักษณะการไหลของน้ำทั่วไป ภายใต้สภาพท้องน้ำที่ไม่ราบเรียบ มีความขรุขระมาก การไหลจึงไม่สม่ำเสมอ มีการพัดพาตะกอนไปตามกระแสน้ำได้มาก บางกรณีเกิดกระแสน้ำวน อันเนื่องมาจากสภาพความขรุขระของท้องน้ำ การไหลแบบปั่นป่วนลำน้ำจะไหลเร็วและมีการเปลี่ยนทิศทางได้ง่าย มีผลต่อการกัดเซาะตลิ่งสองฝั่งน้ำเป็นอย่างมาก





3.ระดับของน้ำ



4.กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้


ขั้นตอนที่1


 ขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 4 ตัดกระดาษออกเป็นรูปหังใจดังภาพ
ขั้นตอนที่ 5 ระบายสีตรงกลางดอก
ขั้นตอนที่ 6 พับกลีบดอกไม้ลง



ขั้นตอนที่ 7 นำดอกไม้ลงไปวางบนผิวน้ำแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้


การจัดการเรียนการสอน
- แบบเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและโต้ตอบกันในชั้นเรียน
- แบบให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน



คำศัพท์
1.Water flow = การไหลของน้ำ
2.water level=ระดับน้ำ
3.change=การเปลี่ยนแปลง
4.seepage=การซึม
5.the fountain=น้ำพุ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 13 กันยายน 2559 (เวลา:08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

นำเสนอของเล่น "ตุ๊กตาถ่วงสมดุล"
อุปกรณ์

  1. กระดาษลังเหลือใช้
  2. ไม้ไอติม 1 อัน
  3. เหรียญบาท 2 เหรียญ
  4. อุปกรณ์ตกแต่ง (ปากกาสี)
  5. กาว
  6. กรรไกร

ขั้นตอนการทำ
1.วาดรูปตัวการ์ตูนแบบยกแขนทั้งวฃสองข้าง เท่ากัน ตัดตามรอย
รูป 3 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ
2. ติดเหรียญที่ปลายมือ ด้วยกาว ข้างละเหรียญจนแน่น
รูป 4 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ
3. ตัดไม้ไอติมปลายแหลมเป็นหัว
รูป 4 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ
ถ่วงด้วยนิ้ว จะเห็นได้ว่า มันจะถ่วงกันพอดี
รูป 5 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ

S T E M ?

S ⇒ การถ่วงสมดุล คือ ความเท่ากันของทั้งสองข้าง 
T ⇒ การเปิดนำเสนอในอินเตอร์เน็ต
E ⇒ ขั้นตอนการทำ
M ⇒ การวัด ความเท่ากัน

ทบทวนความรู้พี่ปี 5

น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง

การนำไปใช้
  1. การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2. การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ