วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • ผู้สอนให้ออกไปนำเสนอแผงผังความคิดในหน่วยต่างๆที่ได้รับการแก้ไขแล้ว
กลุ่ม "ต้นไม้" (ดิฉัน) แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อดังนี้
  1. ประเภทของต้นไม้ ⇛ เกณฑ์ที่ใช้แบ่ง คือ ราก แบ่งได้ 2 ประเภท➔ ไม้ยืนต้น และไม้ล้มลุก ซึ่งไม้ยืนต้นเป็นรากแก้ว ไม้ล้มลุกเป็นรากฝอย แต่เราต้องใช้กับเด็กแค่ 1 เกณฑ์ คือ รากแก้วและไม่ใช่รากแก้ว
  2. ลักษณะของต้นไม้ ⇛ สี ➙เขียว น้ำตาล  /  ขนาด➙ เล็ก กลาง ใหญ่ / กลิ่น ➙ เหม็นเขียว ฉุน /  รส ➙ ฝาด / ส่วนประกอบ ➙ ลำต้น ราก ใบ ผล 
  3. ปัจจัยการดูแลรักษา ⇛ 1.การขยายพันธ์ ⇨ การตัด ตอนกิ่ง ปักชำ เพาะเมล็ด เป็นต้น  2. ปัจจัยการเจริญเติบโต ⇨ น้ำ อากาศ แสงแดด
  4. ประโยชน์ของต้นไม้ ⇛1. ต่อตนเอง ⇨ ให้ร่มเงา พักพิง 2. เชิงพานิชย์ ⇨ คนขายต้นไม้ พนักงานส่งต้นไม้ เป้นต้น
  5. ข้อควรระวัง ⇛ เช่น อย่าอยู่ใต้ตนไม้ตอนฝนตก ห้ามปีนป่าย อาจจะตกลงมา ต้นไม้โค่นล้ม อาจเกิดน้ำท่วม เป็นต้น.
  • หน่วย "ต้นไม้"  ของกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1
➤สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ➙ เด็กสามารถบอกชื่อได้ บอกหน้าที่ได้ การดูแลรักษา ข้อควรระวัง สังเกตการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของต้นไม้
สำรวจสิ่งที่เกิดขี้น
แสดงออกเพื่อการสื่อสาร คือ การทำสื่อ
➤สำรวจและอภิปราย ➙ สังเกตและเปรียบเทียบ  เรียงลำดับการเจริญเติบโต  นำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นฟัง
➤เทียบลักษณะ ➙ ต้องมีเกณฑ์  เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง  บันทึกจากการเรียนสำรวจ เรียนรู้ สังเกต

สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
➤ สำรวจสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาต้นไม้ อากาศจำเป็นสำหรับต้นไม้



ภาพกิจกรรม





การนำไปใช้
  • นำไปใช้แก่การสอนให้เด็กๆ ตามที่กรอบมาตรฐานได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการสอน
ประเมิน
ผู้เรียน 
       ตั้งใจเรียน ช่วยเพื่อนๆทำงาน
ผู้สอน
       สอนเข้าใจ และอธิบายได้ตรงกับเนื้อหาของการเรียน

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2559 (เวลา :08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

  • นำเสนอของเล่น เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอของเล่นซึ่งให้นำเสนอถึงขั้นตอน วิธีการทำ และวิธีการเล่น
ของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
  1. ของเล่นเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นของเด็ก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
  2. ของเล่นเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้เด้กเรียนรู้ทักษะต่างๆในชีวิต
  3. ของเล่นที่เหมาะสมจะส่งเสริมความสามารถและทักษะทางการเคลื่อนไหวที่ดี
-กลุ่มของดิฉันเสนอ กล้องส่องสะท้อนภาพ มีสมาชิกดังนี้

     
  1. นางสาวสุธาสิณี  อายุมั่น
  2. นางสาวสราพร   สงวนประชา
  3. นางสาวทาริกา   เสมวงค์

  • จากนั้น ผู้สอนให้แบ่งกลุ่ม 5 คน และแจกกระดาษบรูฟให้เขียน นำเสนอหน่วยการเรียนรู้กลุ่มละ 1 หน่วย โดยต้องคำนึงถึง สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็ก  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
สาระที่เด็กควรเรียนรู้
  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลปละสถานที่รอบตัวเด็ก
  3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
  4. สิ่งรอบๆตัวเด็ก
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
  • เพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดหน่วยที่จะสอนเด็กๆ ผู้สอนกำหนด 5 หัวข้อ ดังนี้
             ➤ชนิด/ประเภท
             ➤ลักษณะ
             ➤ปัจจัย/การดูแลรักษา
             ➤ประโยชน์
             ➤ข้อควรระวัง
  • เลือกทำหน่วย "ต้นไม้" ก็ช่วยกันร่างสิ่งที่จะสอนตามที่หัวข้อกำหนดไว้ และออกไปนำเสนอต่อผู้สอนหน้าชั้นเรียน เพื่อปรับและแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เพิ่มเติม
  • เมื่อนำเสนออาจารย์ก็ให้คำแนะนำ และวิธีการสอน รวมถึงกลุ่มเพื่อนๆด้วย 
เนื้อหาที่สอนในกลุ่ม
  1. ประเภท แยกตามราก แบบที่เป็นรากแก้ว และไม่ใช่รากแก้ว ซึ่งเป็นรากฝอย แบ่งออกเป็นไม้ยืนต้น(รากแก้ว) และไม้ล้มลุก(รากฝอย)
  2. ลักษณะ สี กลิ่น ขนาด รส ส่วนประกอบ
  3. ปัจจัยในการดำรงชีวิต แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ การขยายพันธ์ กับปัจจัยในการเจริญเติบโต
  4. ประโยชน์ของต้นไม้ แบ่งออกเป็น 2แบบ คือทางพานิชย์ และ ต่อตนเอง
  5. ข้อควรระวังของต้นไม้
การนำไปใช้
  • นำข้อเสนอแนะมาปรับกับการสอนของเราในหน่วยนั้นๆ ซึ่งการสอนแต่ละหน่วยไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต
ประเมิน
ผู้เรียน
     ช่วยเพื่อนๆในการคิดหน่วย และเนื้อหาในหน่วย
ผู้สอน
     ให้คำแนะนำที่ดี เกี่ยวกับหัวข้อแต่ละหัวข้อที่ต้องสอน เพราะเราจำเป็นจะต้องรู้และนำไปใช้จริงแก่เด็ก
                  

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2559 (เวลา : 08.30-12.30น.)

เนื้อหาการเรียน

  • ผู้เรียนได้รับกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนขั้นตอนของเล่นของแต่ละคน ซึ่งดิฉันทำของเล่นวิทยาศาสตร์ เรื่อง ถ่วงสมดุล

ของเล่นถ่วงสมดุล
ขั้นตอนที่ 1 วาดรูปคน ชูแขนขึ้น เท่ากันทั้งสองแขน บนกระดาษลัง
ขั้นตอนที่ 2 ตัดรูปคนที่วาดไว้ และนำเหรียญไปติดที่ปลายแขนของหุ่นข้างละ 1 เหรียญ
ขั้นตอนที่ 3 นำไม้ไอติมที่แบ่งครึ่งแล้ว ตัดหัวข้างหนึ่งให้แหลมและนำมาติดที่ หัวของหุ่น
ขั้นตอนที่ 4 วางหุ่นส่วนแหลมของหัวไว้ที่ปลายนิ้ว จะเห็นได้ว่า มันจะถ่วงกันพอดี

  • จากนั้นผู้สอนให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน และเลือกของเล่นมา 1 อย่างจากสมาชิกของกลุ่ม และมอบหมายงานดังนี้
  1. เขียนขั้นตอนและวิธีการทำวีดิโอ
  2. ถ่ายวีดิโออุปกรณ์และวิธีการทำของเล่น
  3. นำวีดิโอลงยูทูป และนำเสนอต่อผู้สอน
  4. นำวีดิโอทดลองสอน
ขั้นตรวจสอบ
ผู้สอนเป็นผู้ตรวจสอบขั้นตอนการสอน โดนเขียนและนำเสนอหน้าชั้นเรียน กลุ่มเราเลือกของเล่น  
"รถพลังงานลม" ขั้นสอนมีดังนี้
  1. อุปกรณ์ที่วางอยู่ เด็กๆสังเกตอุปกรณ์
  2. อุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นเด็กๆรู้จักอุปกรณ์ใดบ้าง หากเด็กรู้จักทั้งหมดก็ไม่ต้องแนะนำ หากรู้จักไม่หมด ก็แนะนำอุปกรณ์ที่เหลือ
  3. อุปกรณ์เหล่านี้ใช้ทำอะไรได้บ้าง
  4. ตั้งปัญหา เช่น รถจะเคลื่อนที่ได้อย่างไรโดยไม่ใช้มือในการเคลื่อนที่
  5. เมื่อเด็กตอบ และเข้ากับเรื่องที่เราต้องการนำเสนอ เราก็ใช้เทคโนโลยี โดยค้นหาวิธีการจากยูทูป 
  6. ทบทวนอุปกรณ์ที่ใช้อีกครั้งจากการดูคลิป 
  7. สาธิตการทำ
  8. ให้เด็กๆมาหยิบอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้ หรือหากเป็นกลุ่ม ครูให้ตัวแทนกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์ของแต่ละกลุ่ม
  9. เด็กๆลงมือทำ
  10. เก็บอุปกรณ์
  11. ตั้งสมมุติฐาน เด็กๆคิดว่ามันจะเคลื่นที่ได้อย่างไร
  12. ทดสอบสมมุติฐานการลองเล่นของเด็ก และอาจจะเปิดขั้นตอนการเล่นในยูทูปให้ดู
  13. แข่งขันโดยการตั้งเกณฑ์ของผู้ชนะ หรือผ่าน
  14. สุปกิจกรรม ทบทวนวิธีการอีกครั้ง
การนำไปใช้
         นำไปจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กๆในการประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ขั้นตอน การสาธิต การลงมือทำ และขั้นสรุป 

ประเมิน
ผู้เรียน
      ได้รับการเรียนอย่างดี เป็นผู้ออกไปนำเสนอขั้นตอนการสอน รถพลังงานลม ได้รับการแก้ไขและข้อเสนอแนะที่ดีจากผู้สอน
ผู้สอน 
       ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อการสอนของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2559 (เวลา : 08.30-12.30น.)

เนื้อหาการเรียนรู้

  • วันนี้อาจารย์ผู้สอนมอบหมายให้พี่ปี 5 เป็นผู้มาสอนแทน โดยเนื้อหาคือ การทำ Cooking มีดังนี้
"ขนมปังทอดไส้กล้วย"
อุปกรณ์
  1. กระทะ
  2. ตะหลิว
  3. มีด
  4. เขียง
  5. จานกระดาษ
  6. ขวดน้ำ
ส่วนผสม
  1. ขนมปัง 1 แผ่น
  2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  3. กล้วยหอม 4 ชิ้น
  4. น้ำตาลทรย 4 ช้อนชา
  5. นมข้นหวาน 1 ช้อนชา
  6. น้ำมัน 2 ถ้วย
ขั้นตอนการทำ
  1. นำขนมปังตัดขอบและรีดให้เป็นแผ่นบาง ด้วยขวดน้ำ
  2. นำกล้วยหอมมาตัดบาง 4 ชิ้น
  3. กล้วยหอมมาวางที่ขนมปัง และประกบขนมปัง กดให้แน่นติดกัน
  4. นำขนมปังไส้กล้วยไปชุบไข่และทอดในน้ำมันร้อนๆ
  5. เมื่อสีขนมปังเหลืองนวลให้ตัดขึ้นและจัดใส่จาน รับประทาน
  • พี่สาธิตวิธีการทำ "ขนมปังทอดไส้กล้วย"
  • จากนั้นลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ภาพกิจกรรม












การนำไปใช้
  1. ขั้นตอน วิธีการ สอนเด็กเกี่ยวกับการทำอาหาร
  2. ข้อควรระวังในการสอนเด็กๆทำอาหารภายในห้องเรียน
ประเมิน
ผู้เรียน 
     ได้รับความรู้ร้อยละ 90 อาจจะมีการสับสนในขั้นตอนการทำบ้าง เพราะการอธิบายไม่ชัดเจน
ผู้สอน (ปี5)
      มีการสับสนในขั้นตอนที่ตนเตรียมมาบ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ดี จึงทำให้กิจกรรมดำเนินได้ดี การพูดสุภาพเรียบร้อย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนทำอาหารเด็กๆด้วย