วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 6 กันยายน 2559 เวลา : 08.30-12.30

เนื้อหาการเรียน
       อาจารย์ให้นักศึกษามารวมตัวกันที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและขึ้นไปดูวีซีดีที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ เรื่อง อากาศ สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

  • การทดลองอากาศมีตัวตนและมีแรงดัน

วิธีทำการทดลอง      
        หาลูกโป่งมา 1 ลูก วางไว้บนโต๊ะ แล้วหาหนังสือเล่มหนาๆ มาวางทับ บนลูกโป่ง จากนั้นให้เป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้นทีละน้อยๆ แล้วทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง

ผลการทดลอง      
        จะพบว่า เมื่อเราเป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้น ทีละน้อย ลูกโป่งจะสามารถ ยกหนังสือขึ้นได้ ยิ่งเป่าลมเข้าไปมากเท่าใด หนังสือก็จะถูกยกสูง มากขึ้นเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ อากาศมีตัวตนและมีแรงดัน

  • การทดลอง อากาศต้องการที่อยู่

อุปกรณ์
1. แก้วน้ำใส 1 ใบ
2. กระดาษทิชชู่
3. เทปใส
4. อ่างน้ำบรรจุน้ำเกือบเต็ม
วิธีการทดลอง
1. ยึดกระดาษทิชชู่ให้ติดกับก้นแก้วด้านในด้วยเทปใส
2. คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรง ๆ ให้แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ อย่าให้แก้วเอียง น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้ 3. นับ 110 แล้วค่อย ๆ ยกแก้วน้ำที่คว่ำอยู่ขึ้นมาตรง ๆ
ผลการทดลอง
          เมื่อคลี่กระดาษทิชชู่ที่อยู่ในแก้วน้ำออกมาดู กระดาษไม่เปียกน้ำเลย นั่นเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้ เนื่องจากในแก้วมีอากาศอยู่เต็ม และอากาศเหล่านี้จะมีความดันที่จะดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วมีอากาศอยู่จริง โดยใช้แก้วเปล่าอีกใบหนึ่งที่ไม่มีกระดาษทิชชู ค่อย ๆ คว่ำแก้วลงในน้ำจนแก้วทั้งใบอยู่ใต้น้ำ แล้วลองเอียงแก้ว จะพบว่าบริเวณผิวน้ำจะมีฟองอากาศพุ่งขึ้นมา ฟองอากาศนั้นก็คืออากาศที่เคยอยู่ในแก้วนั่นเอง หลังจากที่อากาศออกมาจากแก้วน้ำแล้ว น้ำในอ่างก็จะเข้าไปอยู่แทนที่ หากทำการทดลองแล้วพบว่า กระดาษเปียก ให้ลองทำดูอีกครั้ง คราวนี้พยายามอย่าเอียงแก้วน้ำ เพราะการเอียงแก้วน้ำจะทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปแทนที่อากาศในแก้วได้ แต่หากกดแก้วลงตรง ๆ การทดลองต้องประสบความสำเร็จแน่นอน

  • การทดลองอากาศก็มีน้ำหนัก

อุปกรณ์
1.     ลูกโป่ง
2.     ตาชั่งสองแขน
3.     กรรไกร
วิธีการทดลอง
1.     เป่าลูกโป่งให้ใหญ่เท่าๆ กัน แล้วจัดให้ได้สมดุลครับ
2.     หนีบเอาไว้ที่ตาชั่งสองแขนใบละข้าง
3.     เจาะลูกโป่งลูกใดลูกหนึ่งด้วยกรรไกร
ผลการทดลอง
         พบว่า เมื่อเป่าในปริมาณที่เท่ากัน ตาชั่งจะอยู่ในภาวะสมดุล แต่เมื่อเอากรรไกรตัดลูกโป่งออก 1 ใบ ลูกโป่งข้างที่ไม่โดนตัดก็จะเอนลง แสดงว่า ลูกดป่งที่ไม่ได้ถูกตัดมีน้ำหนักมากกว่า นั่นคือข้อพิสูจน์ว่า อากาศมีน้ำหนัก

ภาพประกอบกิจกรรม









  • หลังจากดูวีดิโอก็ลงมาพบอาจารย์และเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการการสอนของรุ่นพี่








การนำไปใช้
1.แนวการสอนเด็กเรื่องอากาศ
2.การทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องอากาศ

ประเมิน

ตนเอง
      ได้รับความรู้ 90 % อาจจะฟังไม่เข้าใจในบางการทดลอง และนำเสนองานของเล่น โดยนำเสนอ ของเล่นถ่วงสมดุล
อาจารย์
       เป็นการศึกษาด้วยตนเองจากวีซีดี และอาจารย์มาให้ความรู้หลังจากการดู และนำเสนอของเล่น

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น