วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา : 08.30-12.30 น.

เนื้อหาการเรียน

    อาจารย์ให้อุปกรณ์มาทำการทดลอง พิสูจน์เรื่องของ "อากาศ รู้ได้ไงมีตัวตน" โดยมีอุปกรณ์แจกให้ดังนี้
อุปกรณ์

  1. กระดาษขนาด A4
  2. คลิปลวดหนีบกระดาษขนาดเล็ก
การทดลองของกลุ่มเพื่อนๆดังนี้
  1.    ทดลองรถ
  2. ทดลองม้วนกระดาษทรงกลม+แผ่นกระดาษ
  3. ภาพอากาศ
  4. ทดลองลูกยาง+ลูกยางกระดาษ
  5. ทดลองนก
  6. ทดลองกังหัน
โจทย์ :  อากาศ จะรู้ได้ไงว่ามีตัวตน
แนวคิด : ลม ซึ่งลมก็คือการเคลื่อนที่ของอากาศ
วิธีการทดสอบ : เป่าลมไปที่นก และเอากระดาษ ไว้หลังนก
     ครั้งที่ 1 เป่าลม ไปที่กระดาษโดยไม่เอานกกั้นไว้ตรงกลาง กระดาษจะปลิว  ดังนี้
                                               เป่าลม → กระดาษ  ⇒ กระดาษปลิว

     ครั้งที่ 2 เป่าลมที่กระดาา โดยมีนกเป็นตัวกั้นตรงกลาง ดังนี้
เป่าลม → นก → กระดาษ ⇒ กระดาษไม่ปลิว
สรุป
      กระดาษในครั้งที่ 2 ไม่ปลิวเพราะมีนกมากั้น ซึ่งถ้าหากมีวัตถุมากั้นลม ทำให้ลมกระจายไปรอบตัวนกและออกด้านข้าง ไม่ได้มากระทบกับกระดาษ ซึ่งทำให้กระดาาไม่ปลิว หรือไม่มีการเคลื่อนที่

เพิ่มเติม

อากาศคืออะไร ?
       อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
 ลมคืออะไร ?
       ลม หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความกดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ มวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำนั่นเอง โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศสูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดินด้วย ข้อสังเกต เราพบว่าการเคลื่อนที่ของอากาศมี 2 ชนิด ด้วยกันคือ ถ้าเคลื่อนที่ขนานไปกับผิวโลกเราเรียกว่า "ลม" (Wind)

การนำไปใช้
  1. การให้ความรู้แก่เด็กในเรื่องของลม
  2. แนวการจัดการสอนให้แก่เด็กในเรื่องของอากาศ วิธีการต่างๆ ทั้งการทดลองและของเล่น
การประเมิน
ผู้เรียน
     ช่วยกันคิดกับเพื่อน ในวิธีการหาของเล่นเกี่ยวกับอากาศ หรือการทดลองต่างๆ
ผู้สอน
      ให้ความรู้ในเรื่องของอากาศได้อย่างหลากหลาย และการสอนเด็กให้ทราบเรื่องอากาศโดยวิธีที่ง่ายมากขึ้น เหมาสมาสำหรับเด็ก ให้ความรู้เหมาะสม






ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น