วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30น.)

เนื้อหาการเรียน

⤠สอบกลางภาค⤟

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559 (เวลา : 08.30-12.30 น.)


***ขาดเรียน อ้างอิงเนื้อหาจากนางสาวสราพร สงวนประชา
 http://warapornam.blogspot.com/2016_09_01_archive.html
ความรู้ที่ได้รับ

1.ทบทวนเรื่องอากาศและกรอบมาตรฐาน+ของเล่น
2.การไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
3.ระดับของน้ำ
4.ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้
-ทดลองการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้
-การเปลี่ยนแปลงของดอกไม้เกิดจากการที่น้ำซึมเข้าไปในเนื้อกระดาษทำให้กระดาษค่อยๆบานออก


1.ทบทวนเรื่องอากาศและกรอบมาตรฐาน+ของเล่น


ทบทวนการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้สอนในหน่วยต่างๆได้อย่างเหมาะสม


กิจกรรมวาดรูปภาพสามมิติ


2.การไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเป็นหลักการในการนำมาทำน้ำพุ
      การไหลของลำน้ำ หรือ ธารน้ำไหล ได้แก่ การไหลแบบเป็นชั้น (Laminar Flows) เป็นลักษณะการไหลที่เรียบ มีความเร็วในการไหลต่ำ ลักษณะการไหล ชั้นบนสุดของผิวน้ำเคลื่อนที่เหลื่อมไปข้างหน้า เหนือชั้นที่ถัดลงไป มักพบลักษณะของการไหลเช่นนี้ในบริเวณน้ำที่มีระดับความลึกมาก การไหลดังกล่าวมีการพัดพาตะกอนไปได้น้อยมาก เช่น การไหลของน้ำใต้ผิวดิน การไหลแบบปั่นป่วน (Turbulent Flows) เป็นลักษณะการไหลของน้ำทั่วไป ภายใต้สภาพท้องน้ำที่ไม่ราบเรียบ มีความขรุขระมาก การไหลจึงไม่สม่ำเสมอ มีการพัดพาตะกอนไปตามกระแสน้ำได้มาก บางกรณีเกิดกระแสน้ำวน อันเนื่องมาจากสภาพความขรุขระของท้องน้ำ การไหลแบบปั่นป่วนลำน้ำจะไหลเร็วและมีการเปลี่ยนทิศทางได้ง่าย มีผลต่อการกัดเซาะตลิ่งสองฝั่งน้ำเป็นอย่างมาก





3.ระดับของน้ำ



4.กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้


ขั้นตอนที่1


 ขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 4 ตัดกระดาษออกเป็นรูปหังใจดังภาพ
ขั้นตอนที่ 5 ระบายสีตรงกลางดอก
ขั้นตอนที่ 6 พับกลีบดอกไม้ลง



ขั้นตอนที่ 7 นำดอกไม้ลงไปวางบนผิวน้ำแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้


การจัดการเรียนการสอน
- แบบเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและโต้ตอบกันในชั้นเรียน
- แบบให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน



คำศัพท์
1.Water flow = การไหลของน้ำ
2.water level=ระดับน้ำ
3.change=การเปลี่ยนแปลง
4.seepage=การซึม
5.the fountain=น้ำพุ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 13 กันยายน 2559 (เวลา:08.30-12.30 น.)

เนื้อหาการเรียน

นำเสนอของเล่น "ตุ๊กตาถ่วงสมดุล"
อุปกรณ์

  1. กระดาษลังเหลือใช้
  2. ไม้ไอติม 1 อัน
  3. เหรียญบาท 2 เหรียญ
  4. อุปกรณ์ตกแต่ง (ปากกาสี)
  5. กาว
  6. กรรไกร

ขั้นตอนการทำ
1.วาดรูปตัวการ์ตูนแบบยกแขนทั้งวฃสองข้าง เท่ากัน ตัดตามรอย
รูป 3 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ
2. ติดเหรียญที่ปลายมือ ด้วยกาว ข้างละเหรียญจนแน่น
รูป 4 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ
3. ตัดไม้ไอติมปลายแหลมเป็นหัว
รูป 4 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ
ถ่วงด้วยนิ้ว จะเห็นได้ว่า มันจะถ่วงกันพอดี
รูป 5 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ถ่วงสมดุล ด้วยเหรียญ

S T E M ?

S ⇒ การถ่วงสมดุล คือ ความเท่ากันของทั้งสองข้าง 
T ⇒ การเปิดนำเสนอในอินเตอร์เน็ต
E ⇒ ขั้นตอนการทำ
M ⇒ การวัด ความเท่ากัน

ทบทวนความรู้พี่ปี 5

น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง

การนำไปใช้
  1. การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2. การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ


วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 6 กันยายน 2559 เวลา : 08.30-12.30

เนื้อหาการเรียน
       อาจารย์ให้นักศึกษามารวมตัวกันที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและขึ้นไปดูวีซีดีที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ เรื่อง อากาศ สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

  • การทดลองอากาศมีตัวตนและมีแรงดัน

วิธีทำการทดลอง      
        หาลูกโป่งมา 1 ลูก วางไว้บนโต๊ะ แล้วหาหนังสือเล่มหนาๆ มาวางทับ บนลูกโป่ง จากนั้นให้เป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้นทีละน้อยๆ แล้วทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง

ผลการทดลอง      
        จะพบว่า เมื่อเราเป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้น ทีละน้อย ลูกโป่งจะสามารถ ยกหนังสือขึ้นได้ ยิ่งเป่าลมเข้าไปมากเท่าใด หนังสือก็จะถูกยกสูง มากขึ้นเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ อากาศมีตัวตนและมีแรงดัน

  • การทดลอง อากาศต้องการที่อยู่

อุปกรณ์
1. แก้วน้ำใส 1 ใบ
2. กระดาษทิชชู่
3. เทปใส
4. อ่างน้ำบรรจุน้ำเกือบเต็ม
วิธีการทดลอง
1. ยึดกระดาษทิชชู่ให้ติดกับก้นแก้วด้านในด้วยเทปใส
2. คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรง ๆ ให้แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ อย่าให้แก้วเอียง น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้ 3. นับ 110 แล้วค่อย ๆ ยกแก้วน้ำที่คว่ำอยู่ขึ้นมาตรง ๆ
ผลการทดลอง
          เมื่อคลี่กระดาษทิชชู่ที่อยู่ในแก้วน้ำออกมาดู กระดาษไม่เปียกน้ำเลย นั่นเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้ เนื่องจากในแก้วมีอากาศอยู่เต็ม และอากาศเหล่านี้จะมีความดันที่จะดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วมีอากาศอยู่จริง โดยใช้แก้วเปล่าอีกใบหนึ่งที่ไม่มีกระดาษทิชชู ค่อย ๆ คว่ำแก้วลงในน้ำจนแก้วทั้งใบอยู่ใต้น้ำ แล้วลองเอียงแก้ว จะพบว่าบริเวณผิวน้ำจะมีฟองอากาศพุ่งขึ้นมา ฟองอากาศนั้นก็คืออากาศที่เคยอยู่ในแก้วนั่นเอง หลังจากที่อากาศออกมาจากแก้วน้ำแล้ว น้ำในอ่างก็จะเข้าไปอยู่แทนที่ หากทำการทดลองแล้วพบว่า กระดาษเปียก ให้ลองทำดูอีกครั้ง คราวนี้พยายามอย่าเอียงแก้วน้ำ เพราะการเอียงแก้วน้ำจะทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปแทนที่อากาศในแก้วได้ แต่หากกดแก้วลงตรง ๆ การทดลองต้องประสบความสำเร็จแน่นอน

  • การทดลองอากาศก็มีน้ำหนัก

อุปกรณ์
1.     ลูกโป่ง
2.     ตาชั่งสองแขน
3.     กรรไกร
วิธีการทดลอง
1.     เป่าลูกโป่งให้ใหญ่เท่าๆ กัน แล้วจัดให้ได้สมดุลครับ
2.     หนีบเอาไว้ที่ตาชั่งสองแขนใบละข้าง
3.     เจาะลูกโป่งลูกใดลูกหนึ่งด้วยกรรไกร
ผลการทดลอง
         พบว่า เมื่อเป่าในปริมาณที่เท่ากัน ตาชั่งจะอยู่ในภาวะสมดุล แต่เมื่อเอากรรไกรตัดลูกโป่งออก 1 ใบ ลูกโป่งข้างที่ไม่โดนตัดก็จะเอนลง แสดงว่า ลูกดป่งที่ไม่ได้ถูกตัดมีน้ำหนักมากกว่า นั่นคือข้อพิสูจน์ว่า อากาศมีน้ำหนัก

ภาพประกอบกิจกรรม









  • หลังจากดูวีดิโอก็ลงมาพบอาจารย์และเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการการสอนของรุ่นพี่








การนำไปใช้
1.แนวการสอนเด็กเรื่องอากาศ
2.การทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องอากาศ

ประเมิน

ตนเอง
      ได้รับความรู้ 90 % อาจจะฟังไม่เข้าใจในบางการทดลอง และนำเสนองานของเล่น โดยนำเสนอ ของเล่นถ่วงสมดุล
อาจารย์
       เป็นการศึกษาด้วยตนเองจากวีซีดี และอาจารย์มาให้ความรู้หลังจากการดู และนำเสนอของเล่น