วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา : 08.30-12.30 น.

เนื้อหาการเรียน

    อาจารย์ให้อุปกรณ์มาทำการทดลอง พิสูจน์เรื่องของ "อากาศ รู้ได้ไงมีตัวตน" โดยมีอุปกรณ์แจกให้ดังนี้
อุปกรณ์

  1. กระดาษขนาด A4
  2. คลิปลวดหนีบกระดาษขนาดเล็ก
การทดลองของกลุ่มเพื่อนๆดังนี้
  1.    ทดลองรถ
  2. ทดลองม้วนกระดาษทรงกลม+แผ่นกระดาษ
  3. ภาพอากาศ
  4. ทดลองลูกยาง+ลูกยางกระดาษ
  5. ทดลองนก
  6. ทดลองกังหัน
โจทย์ :  อากาศ จะรู้ได้ไงว่ามีตัวตน
แนวคิด : ลม ซึ่งลมก็คือการเคลื่อนที่ของอากาศ
วิธีการทดสอบ : เป่าลมไปที่นก และเอากระดาษ ไว้หลังนก
     ครั้งที่ 1 เป่าลม ไปที่กระดาษโดยไม่เอานกกั้นไว้ตรงกลาง กระดาษจะปลิว  ดังนี้
                                               เป่าลม → กระดาษ  ⇒ กระดาษปลิว

     ครั้งที่ 2 เป่าลมที่กระดาา โดยมีนกเป็นตัวกั้นตรงกลาง ดังนี้
เป่าลม → นก → กระดาษ ⇒ กระดาษไม่ปลิว
สรุป
      กระดาษในครั้งที่ 2 ไม่ปลิวเพราะมีนกมากั้น ซึ่งถ้าหากมีวัตถุมากั้นลม ทำให้ลมกระจายไปรอบตัวนกและออกด้านข้าง ไม่ได้มากระทบกับกระดาษ ซึ่งทำให้กระดาาไม่ปลิว หรือไม่มีการเคลื่อนที่

เพิ่มเติม

อากาศคืออะไร ?
       อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
 ลมคืออะไร ?
       ลม หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความกดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ มวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำนั่นเอง โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศสูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดินด้วย ข้อสังเกต เราพบว่าการเคลื่อนที่ของอากาศมี 2 ชนิด ด้วยกันคือ ถ้าเคลื่อนที่ขนานไปกับผิวโลกเราเรียกว่า "ลม" (Wind)

การนำไปใช้
  1. การให้ความรู้แก่เด็กในเรื่องของลม
  2. แนวการจัดการสอนให้แก่เด็กในเรื่องของอากาศ วิธีการต่างๆ ทั้งการทดลองและของเล่น
การประเมิน
ผู้เรียน
     ช่วยกันคิดกับเพื่อน ในวิธีการหาของเล่นเกี่ยวกับอากาศ หรือการทดลองต่างๆ
ผู้สอน
      ให้ความรู้ในเรื่องของอากาศได้อย่างหลากหลาย และการสอนเด็กให้ทราบเรื่องอากาศโดยวิธีที่ง่ายมากขึ้น เหมาสมาสำหรับเด็ก ให้ความรู้เหมาะสม






Image result for ยินดีต้อนรับ
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคาร ที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา : 08.30-12.30 น.

เนื้อหารายวิชา

รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  -การเรียนรู้ คือ เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  -คุณลักษณะตามวัย = พัฒนาการ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็ก ทั้ง 4 ด้าน 
           ซึ่งพัฒนาการ → สมอง → ออกมาเป็นทฤษฎี
                                         ↓
                   ทำงานเพื่อความอยู่รอดของชีวิต

พัฒนาการเด็กปฐมวัย
เด็กอายุ 3 ปี 
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
  • กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
  • รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
  • เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
  • ใช้กรรไกรมือเดียวได้


2. พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
  • แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
  • ชอบจะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและรับคำชม
  • กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
3. พัฒนาการด้านสังคม
  • รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
  • ชอบเล่นเเบบคู่ขนาน
  • เล่นสมมติได้
  • รู้จักการรอคอย

4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
  • บอกชื่อของตนเองได้
  • ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆและแสดงเลียนเเบบท่าทางได้
  • รู้จักใช้คำถาม อะไร
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆได้
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว

เด็กอายุ 4 ปี

1.พัฒนาการด้านร่างกาย
  • กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
  • รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้
  • กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย

2. พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
  • แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
  • เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  • ชอบท้าทายผู้ใหญ่
  • ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

3. พัฒนาการด้านสังคม
  • เล่นร่วมกับคนอื่นได้
  • รอคอยตามลำดับก่อนหลัง
  • แบ่งของให้คนอื่น
  • เก็บของเล่นเข้าที่ได้

4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
  • พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม


 เด็กอายุ 5 ปี 

1. พัฒนาการด้านร่างกาย

  • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
  • รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
  • เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
  • ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี
  • ยืดตัว คล่องเเคล่ว

2. พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

  • แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เหมาะสม
  • ชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  • ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

3. พัฒนาการด้านสังคม
  • ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  • เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
  • พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
  • รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่
  • รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
  • พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • โต้ตอบเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
  • เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
การนำไปใช้
  1. การเรียนรู้ของเด้กปฐมวัย
  2. พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 3 4 และ5 ปี
การประเมิน
ผู้เรียน
    ชอบคำถามและสนใจในคำถามที่อาจารย์สอบถาม
ผู้สอน 
    แต่งกายเรียบร้อย สอนเข้าใจ 





วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Image result for ยินดีต้อนรับ
บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 
ชดเชยวันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา : 8.30-12.30น.


เนื้อหารายวิชา

องค์ประกอของ BLOG

  • โปรไฟล์ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลผู้เรียน
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาสาสตร์
  • ลิงค์อาจารย์และเพื่อนๆ
  • มคอ 3
  • งานวิจัยวิทยาศาสตร์
  • บทความทางวิทยาศาสตร์
การสรุปเนื้อหาของบล็อค

  • อธิบายจากเนื้อหา หัวข้อการเรียนรู้
  • การนำไปใช้
  • ประเมินผู้เรียน
  • ประเมินผู้สอน
  • ศัพท์ 5 คำ

Image result for ที่คั่นบรรทัด


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 
ชดเชยวันที่ 16 สิงหาคม 2559 เวลา : 8.30-12.30น.

เนื้อหาวิชา

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  • กำหนดปัญหา
  • ตั้งสมมุติฐาน
  • หาข้อมูลพื้นฐาน
  • ทดลอง
  • ตรวจสอบสมมุติฐาน
  • สรุปผล
  • อภิปราย
  • นำไปปรับใช้
สาระสำคัญ
       วิทยาศาสตร์  หมายถึง ทักษะระบวนการที่ต้องศึกษา ค้นคว้าจากสิ่งรอบตัว เพื่อค้นหาความจริง โดยอาศัยการสังเกตุ การทดลอง เพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  1. ระบบนิเวศ
  2. ความสมดุล
  3. ความเปลี่ยนแปลง
  4. ความแตกต่าง
  5. การปรับตัว
  6. การพึ่งพาอาศัยกัน
เจตคติของนักวิทยาศาสตร์
  • อยากรู้อยากเห็น
  • ไม่ตีกรอบความคิด
  • มีความพยายาม พากเพียร
  • ชอบสืบค้นและทดลอง
  • ซื่อสัตย์ ยอมรับสิ่งที่เกิด
  • มีเหตุและผล
  • ละเอียด มีระเบียบ รอบครอบ
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
       ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ อีกทั้งเสริมประสบการณ์ของชีวิต 

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
  • เกิดความสุขสบาย
  • เกิดความสมดุลในชีวิต
  • สร้างความเชื่อมั่นของตน
ทักษะที่เกี่ยวข้อง
  • ทักษะคณิตศาสตร์
  • ทักษะทางภาษา
      ซึ่งทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกันคือ การคำนวน การลงความคิดเห็น  การสื่อความหมาย  การจำแนก  การแยกแยะ  ความสัมพันธ์ ความผกผัน

*พัฒนาการ คือ ความสามารถตามช่วงวัย 
*การเล่น คือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
*การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน

การนำไปใช้
  1. นำความรู้ทฤษฎีไปจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
  2. จัดประสบการณ์เป็นขั้นตอน ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  3. การจัดกิจกรรมให้เด็ก  ควรคำนึงถึงพัฒนาการตามวัย
การประเมิน
ผู้เรียน : ตั้งใจเรียน และชอบในการตอบคำถาม สนุกกับเนื้อหา

ผู้สอน : อาจารย์พูดไว และงงนิดหน่อย  แต่ก็เข้าใจได้และได้ให้ความรู้อย่างมีประโยชน์อย่างมาก


Image result for ที่คั่นบรรทัดเคลื่อนไหว