สรุปผลงานวิจัย
ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Experimental Results of the Learning Experience Management Focusing on Science
Process Skills of Kindergarten Children 2
ศรีนวล ศรีอ่่า
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับ การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาล วัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน เครื่องมือที ่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ 3)แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.839วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
บทน่า
การจัดประสบการณ์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีนั้นควร
ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงมากที่สุด สอดคล้องกับแนวคิดของจอห์น ดิวอี้(John Dewey) ที่ว่าเด็กเรียนรู้จากการกระท า (Learning by doing) ซึ่งตรงกับเพียเจท์(Piaget) และบรูเนอร์(Bruner) ที่กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาการทางสติปัญญานั้นเกิดจากการเรียนรู้โดยการกระท าและการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยเป็นการตอบสนองและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้โลกธรรมชาติรอบตัวและพัฒนาทักษะทางสติปัญญาต่าง ๆ เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยมีธรรมชาติของการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์อยู่ในตนเอง การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมโดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด ให้ได้ทั้งกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจะช่วยส่งเสริมศักยภาพของเด็กในการพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานส าหรับการศึกษาในอนาคต(ชัยวัฒน์สุทธิรัตน์, 2552, หน้า 27)
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมมี
ประสบการณ์ตรงได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของนักเรียนและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่จะรักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย แต่จากการวิจัยยังพบว่าครูผู้สอนระดับปฐมวัยจ านวนมากจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่น าเสนอสาระ ความรู้กระบวนการด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนท าให้ผู้เรียนได้รับความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการประเมินที่ได้จากการศึกษาวิจัยร่วมกับนานาชาติที่ระบุให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์รวมทั้งผลการเรียนรู้ด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ าเมื่อเทียบเคียงกับนานาชาติ(สถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2550, 1) และจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เมื่อพิจารณาคุณภาพของนักเรียนที่ต้องปรับปรุงพบว่า วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีค่าร้อยละของนักเรียนที่ต้องปรับปรุงมากที่สุดคือร้อยละ17.42 (รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน O-NET, 2555, หน้า 101) ซึ่งความเป็นจริงแล้วการศึกษาปฐมวัยเน้นกระบวนการที่เด็กได้รับจากประสบการณ์ตรงจากประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยผ่านการเล่น และบูรณาการอยู่
ในทุกสาระ สาเหตุหนึ่งอาจสืบเนื่องมาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ระบุรายละเอียดในส่วนของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ครูได้เห็นอย่างชัดเจนจากสิ่งที่คาดหวังจะให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุดให้ได้ทั้งกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ตั้งแต่ปฐมวัยโดยมีเป้าหมายในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือเด็กปฐมวัยรู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ๆ ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย แสดงความเข้าใจ รู้จักดูแลรักษาธรรมชาติมีจิตวิทยาศาสตร์มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์แต่สภาพที่เป็นจริงแล้วการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลาย หรือบูรณาการอยู่ในทุกสาระ อาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551, หน้า 1)
การจัดประสบการณ์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ การจัดประสบการณ์ส าหรับเด็กปฐมวัย พบว่า การจัด
ประสบการณ์ส าหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ส าหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครบทุกด้านไม่ได้มุ่งให้อ่านเขียนแต่จะเป็นการปูพื้นให้โดยค านึงถึงวัยความสามารถของเด็กและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป (ศศิมา พรหมรักษ์, 2546, หน้า19) ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการหามิติสัมพันธ์ทักษะการค านวณ ทักษะการพยากรณ์ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลซึ่งถือว่าเป็นทักษะขั้นพื้นฐาน ส่วนทักษะการทดลอง ทักษะการตีความหมายข้อมูลทักษะการตั้งสมมุติฐานทักษะการก าหนดตัวแปรและทักษะการก าหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จัดเป็นทักษะขั้นบูรณาการ
ซึ่งทักษะดังกล่าวมีความส าคัญในการแสวงหาความรู้และเกิดข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์สามารถน าไปเป็นกระบวนการพัฒนาความคิดและสติปัญญาของเด็กได้ (ศศิธร รณะบุตร, 2551, หน้า 29) การจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ซึ่ง วิมลศรี สุวรรณรัตน์, และมาฆะ ทิพย์คีรี (2544, หน้า 10) อธิบายว่า การจัด
ประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เด็กท ากิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความรู้ ความช านาญ มีความมั่นใจในการน าเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือค้นคว้าความรู้ต่างๆด้วยตนเองแล้วยังช่วยให้เกิดประโยชน์ คือ เด็กได้รู้จักแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นคนไร้เหตุผลได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการสอนของครู ส่งผลให้เด็กได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเองและท าให้เด็กสนใจเรียนในรายวิชานั้นๆ มากยิ่งขึ้น ท าให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2547, หน้า 172) ได้อธิบายว่า ความส าคัญของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ มีความส าคัญในด้านการฝึกท ากิจกรรมให้มีความรู้ความช านาญ และมีความมั่นใจในการน าเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เพื่อต่อเติมประสบการณ์ของ ช่วงชีวิตในวัยถัดไป และเป็นรากฐานแห่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้นการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็น การฝึกฝนกระบวนการทาง
ความคิดและความสามารถในการปฏิบัติการค้นคว้าหาความรู้และแก้ไขปัญหาเพื่อไปสู่การเรียนรู้ จะเห็นได้ว่าแม้แต่เด็กปฐมวัยก็ยังได้รับประสบการณ์ในชีวิตประจ าวันที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ประกอบกับเด็กปฐมวัย มีความอยากรู้อยากเห็นและมักจะตั้งค าถามกับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา เด็กปฐมวัยจึงควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จ าเป็นในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อที่จะได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และจะได้มีโอกาสพัฒนาประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต การส่งเสริมให้เด็กได้รับรู้สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ต่างๆ เป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เด็กเผชิญปัญหาด้วยความเข้าใจ และมองเห็นปัญหาว่าแก้ไขได้โดยวิธีใด เด็กได้ฝึกคิดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งท าให้เด็กสามารถที่จะปรับตัวเข้า
กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงนี้ จะเป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่ส าคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็น
การจัดการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้(สมจิต สวธนไพบูลย์, 2547, หน้า 27)ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้น าการจัดกิจกรรมการเรียนมีลักษณะเป็นกิจกรรมประเภทฝึกปฏิบัติเพื่อให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติด้วยตนเองประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เป็นของจริง รูปภาพต่างๆ ที่น่าสนใจและมีค าถามที่น าไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต การจ าแนกประเภท การวัด การลงความเห็น และการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ ดังที่ พัชรีผลโยธิน (2542, หน้า 24-31) ได้สรุปไว้ว่า เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการส ารวจสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเช่น การชิมรสการรู้สึกการผลักการดึงการหมุน การผสมการเปรียบเทียบและอื่น ๆ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเรียนรู้ข้อมูลเนื้อหา และท่องจ ากฎหรือสูตรต่าง ๆ วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการสังเกต การคิดและสะท้อนความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น สนใจโลกที่ล้อมรอบตัว เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กคิดและแก้ปัญหา และนอกจากนี้ผู้วิจัยใช้หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามที่ ประสาท เนืองเฉลิม (2546, หน้า 26 -27) เสนอแนะว่าจะสร้างการเรียนรู้ในตนให้กับเด็ก ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนปฏิบัติการเรียนการสอนคือ 1) ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการลงมือกระท าจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 2) จัดกิจกรรมตามสภาพจริง สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ 3) จัดประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งใหม่ที่มีฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก 4) สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กครูต้องเป็นผู้ให้ค าแนะน า ก าลังใจ เอื้ออ านวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและ 5) สะท้อนความคิดระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระท าที่ปฏิบัติลงไปจากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ และทักษะการลงความเห็น
วิธีการด่าเนินการวิจัย
การวิจัยนี้ ใช้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) สังกัดส านักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple
random sampling) โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน โดยศึกษาผลจากการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะมิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล โดยใช้เวลาศึกษา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมระยะเวลา 35 ครั้ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน (one – group pretest –posttest design)ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากการทดสอบค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ภาพรวมอยู่ในระดับดี (
X= 2.51, S.D. = 0.49) 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
อภิปรายผล
การวิจัย เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 2ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี (
X= 2.51, S.D. = 0.49) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้กระบวนการจัดประสบการณ์โดยเน้นเด็กเป็นส าคัญ โดยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาที่สอน เหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความต้องของเด็ก ประกอบกับกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การฟัง การสาธิต การทดลองลงมือกระท าด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้เสนอแนะวิธีการค้นหาค าตอบ โดยใช้วิธีการต่างๆ พยายามชี้แนะแนวทางค้นค าตอบ เน้นกระบวนการที่เด็กเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ท าให้การเรียนรู้เกิดขึ้น
ระหว่างที่เด็กมีส่วนร่วมโดยตรงในการท ากิจกรรม ท าให้มีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับหลักการของ วราภรณ์ รักวิจัย (2542, หน้า 159) ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมที่จะท าให้เด็กเกิดการเรียนรู้สูงสุดนั้น จะต้องเป็นกิจกรรมที่เด็กสนใจลงมือค้นคว้ากระท าด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและสนับสนุนคอยช่อยเหลือ เด็กท ากิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย สอดคล้องกับพัฒนาการ ด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นประสบการณ์ตรงจากการได้เล่นลงมือปฏิบัติจริงและมีการกระท าร่วมกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ลานดี้, และกลาสสัน (Landry, & Glasson, 2008, p.
443) ที่ศึกษาหลักสูตรการจัดกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย โดยท าการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กและบทบาทของครูในการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พบว่าครูเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในการช่วยส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย และการให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้แบบร่วมมือกันท าให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งท าให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับดี
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจเป็นเพราะการจัดประสบการณ์ที่มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก และเน้นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ รู้จักคิด และรู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง โดยครูใช้ค าถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้จักคิดและแก้ปัญหา เป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการจัดกิจกรรมจะเชื ่อมโยงพื้นฐานจากความรู้เดิม และใช้เทคนิคการจัดประสบการณ์โดยการสาธิต การทดลอง การศึกษานอกห้องเรียน เพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ประสาท เนืองเฉลิม(2546,
หน้า26 -27) ที่ระบุไว้ว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติการลงมือกระท าจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 จัดกิจกรรมตามสภาพจริงสอดคล้องกับสภาพ แวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้สิ่งใหม่นั้นมีฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็กมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กซึ่งครูต้องเป็นผู้ให้ค าแนะน าก าลังใจเอื้ออ านวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสะท้อนความคิดระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระท าที ่ปฏิบัติลงไป และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ศิริทัย ธโนปจัย (2549, หน้า 78-79) ซึ่งได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของธนวรรณ มณี (2550, หน้า 92) ซึ่งได้ท าการวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการน่าผลการวิจัยไปใช้
1.1 ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรเลือกใช้กิจกรรมที ่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่คุ้นเคย และสามารถน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ เพื่อให้เด็กจดจ าไปปฏิบัติและเกิดทักษะขึ้นได้
1.2 ควรมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัยอย่าง
ต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจ าวัน โดยเน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดความคล่องแคล่วช านาญและเกิดเป็นทักษะต่อไป
1.3 ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรเลือกใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่คุ้นเคย และสามารถน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ เพื่อให้เด็กจดจ าไปปฏิบัติและเกิดทักษะขึ้นได้
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ศึกษาการผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเด็กระดับปฐมวัย
ในห้องเรียนอื่นๆ ในโรงเรียน
2.2 เปรียบเทียบผลการการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็ก
ปฐมวัย โดยใช้ทักษะ 7 ทักษะของเด็กปฐมวัย
2.3 ควรมีการศึกษา เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการ
ประกอบอาหารเป็นกลุ่ม ศิลปะสร้างสรรค์ หรือ โครงงาน